วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

5 วิธีลดไข้ เมื่อลูกน้อยไม่สบาย

 

   ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนเริ่มเปลี่ยนแปลง กทม. ก็เริ่มหนาวแล้ว บางทีลูกน้อยอาจจะไม่สบายได้ Kiddyloft มีวิธีลดไข้สำหรับเด็กมากฝากค่ะ

5 วิธีการลดไข้สำหรับเด็ก

                1. การให้ยาลดไข้ ยาลดไข้ที่ดีที่สุดคือยาพาราเซตามอง เพราะมีฤทธิ์ข้างเคียงน้อย และไม่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ส่วนยาจูนิเฟนมีผลดีในการลดไข้และป้องกันการชักจากไข้สูงได้ดีกว่าพาราเซตามอล แต่มีฤทธิ์ข้างเคียง คือ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
                2. การเช็ดตัวลดไข้ควรเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดา ไม่ควรใช้น้ำเย็นจัด เพราะจะทำให้หลอดเลือดตีบและระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ยาก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการหนาวสั่นได้ ควรป้อนยาลดไข้ทันทีเมื่อมีไข้ร่วมกับการเช็ดตัวลดไข้ ยาลดไข้จะออกฤทธิ์ลดไข้หลังรับประทานยา 30 นาทีและออกฤทธิ์สูงสุด 1 ชั่วโมง คงสภาพได้ 4 ชั่วโมง ดังนั้นหากไข้สูงระหว่างมื้อยา ให้เช็ดตัวลดไข้ หากมีอาการหนาวสั่นควรให้ความอบอุ่นก่อนแล้วจึงเช็ดตัว
                3. ดื่มน้ำมากๆ ควรเป็นน้ำอุ่นหรือน้ำผลไม้  กระตุ้นให้ดื่มน้ำบ่อยๆเพื่อชดเชยน้ำที่ร่างกายสูญเสียไปจากพิษไข้
                4. ใส่เสื้อผ้าโปร่ง สวมใส่สบาย ประเภทผ้าฝ้าย ไม่ควรใส่เสื้อผ้ายืดเพราะไม่ระบายความร้อน ไม่ควรใส่เสื้อผ้าหนาหรือห่มผ้าหนาๆ
                5. อยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

    เวลาเด็กไม่สบาย มักมีอาการตัวร้อนนำมาก่อน สำหรับผู้ใหญ่อาการตัวร้อนดูเป็นเรื่องธรรมดา แต่เด็กๆอาจไม่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากมีพื้นที่ร่างกายน้อย การระบายความร้อนเป็นไปได้ช้า  แต่การสร้างความร้อนเกิดขึ้นเร็ว หากปล่อยให้ตัวร้อนจัดเด็กอาจชักเพราะไข้สูงได้เพราะในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ระบบประสาทส่วนกลางยังเจริญไม่เต็มที่ หากมีการชักบ่อยๆจะทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย ซึ่งผลต่อระดับสติปัญญาของเด็กและการทำงานของสมองในอนาคตได้

           การดูแลเด็กเวลามีไข้มีมากมายหลายวิธี วิธีเช็ดตัวลดไข้เป็นวิธีที่บิดามารดาสามารถดูแลเบื้องต้นได้ สิ่งที่สำคัญคือบิดามารดาต้องเห็นความสำคัญและใส่ใจ มีเวลาให้กับเด็ก เพื่อให้เกมีความสุขสบายและปลอดภัยจากภาวะไข้ ลองนำไปปฏิบัติกันน่ะค่ะ ด้วยความหวังดีจาก Kiddyloft ค่ะ


ที่มา : http://www.med.cmu.ac.th/
ภาพจาก : http://www.siphhospital.com

วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เครื่องดื่มของเจ้าตัวเล็ก ควรดื่มอะไร?




ตามมาดู...เครื่องดื่มของเจ้าตัวเล็ก (จากนิตยสาร Mother&Care)
     
    เห็น Kiddyloft Thailand Fanpage หลายท่านถามมาเรื่องอาหารของเจ้าตัวน้อย ว่านอกจากนมแม่แล้วจำเป็นต้องกินอะไรเพิ่มเติมหรือป่าว วันนี้ Kiddyloft มีคำตอบมาให้ค่ะ

          นอกจากนมที่เด็ก ๆ หม่ำเป็นประจำแล้ว คุณพ่อคุณแม่คิดว่าลูก ๆ ควรได้รับเครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ ด้วยหรือไม่

         
ไม่ ว่าคำตอบที่อยู่ในใจจะมีทั้ง "ควร" "ไม่ควร" หรือ "ไม่แน่ใจ" ลองไล่สายตาอ่านเรื่องราวต่อจากนี้เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนแล้วกันค่ะ

          บ่อย ครั้งที่เรามักเห็นคุณพ่อคุณแม่ลูกอ่อนเตรียมขวดนมที่บรรจุด้วยน้ำต้มสุก น้ำส้ม หรือน้ำหวานไว้ให้เด็ก ๆ นอนดูดเล่น ไม่ว่าจะเพื่อล้างปากหลังดูดนมเสร็จ หรือเพื่อเติมคุณประโยชน์จากวิตามินในผลไม้ให้แก่ร่างกายของลูกน้อย หรือเพื่อคลายร้อน เติมความหวานเพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกายก็ตาม บางทีสิ่งเหล่านี้อาจไม่จำเป็นสำหรับเจ้าหนูวัยแรกเกิดก็เป็นได้

แรกเกิด-6 เดือนแรก นมอย่างเดียวก็เพียงพอ

          เนื่อง จากในน้ำนมแม่มีปริมาณสารอาหารและปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อความต้องการของลูก ดังนั้นในช่วงแรกเกิด-6 เดือนแรก คุณแม่สามารถให้ลูกดูดแต่นมแม่อย่างเดียว โดยไม่ต้องให้อาหารเสริมหรือเครื่องดื่มใด ๆ เลย แต่ทั้งนี้หากอยู่ในสภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อนก็อาจให้ดื่มน้ำต้มสุก โดยจิบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และให้ลูกกินนมแม่บ่อยขึ้น

          การ ให้ลูกดื่มน้ำมากเกินไป อาจส่งผลให้เขาดูดนมได้น้อยลง ทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรืออาจเกิดภาวะน้ำในร่างกายมากผิดปกติ เนื่องจากไตยังเติบโตไม่เต็มที่ จึงทำให้ไม่สามารถขับน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายได้ดีนัก

เริ่มให้อาหารเสริม เริ่มให้น้ำ

          โดย ส่วนใหญ่แนะนำให้เริ่มอาหารเสริมหลังจากอายุ 6 เดือน เป็นต้นไป ด้วยเหตุนี้เครื่องดื่มต่าง ๆ จึงเข้ามาเสริมในช่วงนี้ ด้วยเช่นกัน โดยมีข้อแนะนำในการให้เครื่องดื่ม ดังนี้

          1.ควรเริ่มต้นให้จิบน้ำต้มสุกประมาณ 2-4 ออนซ์ต่อวัน หรืออาจให้จิบหลังกินอาหารเสริม

          2.หลีกเลี่ยงการเติมน้ำตาล น้ำเชื่อม น้ำผึ้ง หรือสารให้ความหวานลงในเครื่องดื่มทุกชนิด เพื่อไม่ให้ติดรสหวานและได้รับปริมาณน้ำตาลมากเกินไป ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและอาจเป็นสาเหตุของฟันผุได้

          3.หากเริ่มใช้นมชง ควรใช้นมผงที่ไม่มีการเติมน้ำตาล สารให้ความหวาน หรือน้ำผึ้ง

          4.น้ำผลไม้ที่นำมาให้ลูกดื่ม ควรเป็นน้ำผลไม้ 100% ปราศจาก สารแต่งสี แต่งกลิ่น สารกันบูด และไม่ควรได้รับเกิน 4-6 ออนซ์ต่อวัน โดยในช่วงแรกของการให้ดื่มควรเจือจางน้ำผลไม้กับน้ำต้มสุกในอัตราส่วน 1 : 1 เป็นอย่างน้อย

          5.การดื่มน้ำผลไม้ ควรเริ่มให้ทีละชนิดและสังเกตดูว่าลูกมีอาการแพ้ หรือร่างกายมีปฏิกิริยาต่อน้ำผลไม้ที่ดื่มหรือไม่

          6.หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มก่อนมื้ออาหารเสริม โดยเฉพาะน้ำผลไม้ เพราะจะทำให้ลูกอิ่มและกินอาหารเสริมได้น้อยลง อีกทั้งไม่ควรให้ดื่มบ่อยทั้งวันหรือก่อนเวลานอน

          7.หลีกเลี่ยงการนำน้ำแร่มาให้ลูกดื่ม หรือนำมาชงกับนม หรือ เจือจางในน้ำผลไม้ แต่ควรใช้เพียงน้ำต้มสุกธรรมดา เพราะไตของทารกยังไม่สามารถขับสารอาหาร เกลือแร่ และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่มีอยู่ในน้ำแร่ออกจากร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          8.ไม่ควรให้ลูกดื่มหรือชิมรสเครื่องดื่มประเภทน้ำหวาน น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์

          9.ควรให้ลูกดื่มเครื่องดื่มจากแก้ว แทนการดูดจากขวด โดยเลือกแก้วที่มีรูปทรงและขนาดให้เหมาะกับวัย

          อ่านมาจนจบแล้ว Kiddyloft  หวังว่าคุณพ่อคุณแม่จะนำข้อแนะนำที่กล่าวมานั้นไปใช้ปฏิบัติจริงเพื่อสุขภาพ ที่ดีของเจ้าตัวเล็กประจำบ้านกันนะคะ

 ขอบคุณข้อมูลจาก : นิตยสาร Mother and Care

วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

นมผง S-26 SMA Gold Alpha-Lactalbumin เปลี่ยนโฉมใหม่!!

นมผง S-26 SMA Gold Alpha-Lactalbumin ขนาด 1800 กรัม

นมผง เอส-26 เอส เอ็ม เอ โกลด์ แอลฟา-แล็คตัลบูมิน ขนาด 1800 กรัม

นมผงดัดแปลงสำหรับทารก เอส-26 เอส เอ็ม เอ โกลด์ สูตรพัฒนาไปอีกขั้นที่มี แอลฟา-แล็คตัลบูมินิ สูตร 1 สำหรับเด็ก ช่วงวัยที่ 1 อายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปและทุกคนในครอบครัว

    ทาง S-26 ได้ปรับโฉมใหม่ จากผลิตภัฑ์เดิม S-26 SMA Gold  มาเป็น  S-26 SMA Gold Alpha-Lactalbumin โดยมีการเพิ่ม Alpha-Lactalbumin มาเป็นส่วนผสม


แอลฟา แล็คตัลบูมิน คืออะไร ลองอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.alpha-lactalbumin.org/

หาซื้อ S-26 ออนไลน์ได้ที่
http://www.kiddyloft.com/

วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

10 วิธี ฝึกลูกช่วยเหลือตัวเอง




10 วิธี ฝึกลูกช่วยเหลือตัวเอง 

เมื่อลูกไม่ได้รับการฝึกให้รู้จักช่วยเหลือตัวเอง คิดว่าลูกจะได้รับผลเสียใดบ้าง?
  • ลูกตัดสินใจเองไม่เป็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องง่ายๆ ขึ้นไปจนถึงเรื่องยาก ๆ
  • ลูกติดนิสัยคอยพึ่งพาแต่คนอื่น ทำสิ่งใดด้วยตัวเองไม่เป็นเรื่อยไปจนโต
  • ลูกจะมีนิสัยรักความสบาย รับความลำบากได้ยาก เพราะเคยมีแต่คนทำให้
  • ลูกจะมีปัญหาในการเข้าสังคม เพราะยึดติดอยู่กับผู้ใหญ่ที่คอยแก้ปัญหาให้
  • ลูกจะปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนหรือคนรอบข้างไม่ได้
  • ลูกจะคิดแก้ไขปัญหาไม่เก่ง คิดได้ช้า หรือคิดวิธีแก้ปัญหาได้น้อย
  • ลูกจะมีความรับผิดชอบต่อตัวเองในด้านต่าง ๆ น้อยกว่าเด็กทั่วไป
  • ท้ายที่สุดพ่อแม่อาจทนพฤติกรรมลูกไม่ได้เมื่อโตขึ้น ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกันลดลง
          ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นผลกระทบจากการที่ไม่ได้ฝึกให้ลูกรู้จักช่วยเหลือตัวเอง ค่ะ ทั้ง ๆ ที่ลูกกำลังอยู่ในช่วงวัยต้องการทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ชอบรบเร้าจะเข้ามาช่วยพ่อแม่ทำโน่นนี่ เพราะต้องการเรียนรู้การใช้ชีวิตตามผู้ใหญ่ ดังนั้นลองฉวยโอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์ ด้วยการสอนให้ลูกรู้จักช่วยเหลือตัวเองกับ 10 เคล็ดลับนี้สิคะ

 1. เข้าใจพัฒนาการลูกวัย Toddler
          วัยนี้จะมีความรู้สึกใหม่เกิดขึ้น คือ อยากรับผิดชอบชีวิตประจำวันของตัวเองบ้าง อยากมีส่วนร่วมในการล้างมือ อาบน้ำ กวาดบ้าน ถูบ้าน แปรงฟันเอง พยายามทำทุกอย่างที่เคยเห็นคุณพ่อคุณแม่ทำ และเริ่มมีทัศนคติที่ดีกับสิ่งที่ต้องทำเป็นประจำ จึงพยายามช่วยเหลือตัวเอง เช่น รู้จักสอดแขนเข้าไปในแขนเสื้อ ใส่กางเกง สนใจแกะหรือใส่กระดุม สวมถุงเท้ารองเท้าเอง แม้วัยนี้จะช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ก็ควรช่วยลูกบ้าง เช่น หากางเกง เสื้อที่ลูกใส่ได้ง่าย หาช้อนที่ตักกินเองได้ง่าย วางแปรงสีฟัน ถ้วยในที่ที่ลูกเอื้อมหยิบถึง ฯลฯ

 2. เริ่มมอบหมายงานบ้าน
          โอกาสทองที่เพิ่มความรู้สึกความภาคภูมิใจ และความเชื่อมั่นในตัวเองให้ลูก คือ การให้ลูกรู้จักช่วยงานบ้าน แม้จะเป็นงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ตามค่ะ เพราะเหล่านี้ถือเป็นการส่งสัญญาณให้ลูกรู้ว่า พ่อแม่มีความเชื่อมั่นว่าลูกจะสามารถรับผิดชอบ และทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงไปได้ แถมยังช่วยให้ลูกรู้ว่า ตัวเองก็มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือครอบครัวด้วยเหมือนกัน แล้วลูกยังรู้สึกดีมีความภาคภูมิใจ ที่ได้รู้ว่าตัวเองก็เป็นที่ต้องการของพ่อแม่ด้วย เช่นกันค่ะ

 3. อย่าคิดว่าลูกไม่สามารถ
          ถึงจะดูว่าลูกวัยเตาะแตะยังเล็ก แต่ขอบอกว่า ลูกก็สามารถ ช่วยเก็บของเล่นที่ลูกเล่นเกลื่อนบ้านลงใส่ในตะกร้าเก็บของเล่นได้ หยิบเสื้อผ้าที่จะซักใส่เครื่องซักผ้าได้ (แม้ว่าจะค่อย ๆ ใส่ทีละชิ้นทีละชิ้น) วางช้อนส้อมบนโต๊ะอาหารเมื่อถึงเวลากินข้าวเย็นได้ วางผ้ารองจานข้าวได้ (ถ้าที่บ้านใช้) จับคู่ถุงเท้าของพ่อที่ซักสะอาดแล้วให้เข้าคู่ได้ (โดยแม่เป็นคนพับ) เมื่อลูกทำงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ นี้จนเริ่มชินแล้ว จึงค่อยมอบหมายให้ลูกทำงานที่ยากขึ้นไปอีกนิดเมื่อลูกโตขึ้นได้

 4. ทำงานบ้านเป็นเรื่องสนุก
          ควรแสดงออกให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่สนุกและพอใจที่ได้ทำงานบ้านร่วมกับลูก เช่น แทนการใช้คำสั่งให้เก็บของเล่นที่เกลื่อนกลาดบนพื้น อาจใช้วิธีชวนลูกเล่นแข่งเก็บของเล่นใส่กล่อง เกมพาน้องตุ๊กตากลับบ้าน ซึ่งก็คือเก็บตุ๊กตาเข้าที่ ร้องเพลงที่ลูกชอบด้วยกัน แต่งเพลงขึ้นมาใหม่ในการพับผ้าคิดท่าเต้นขณะกวาดบ้าน แข่งกันเก็บผ้าปูที่นอน ซื้อไม้กวาดเด็ก ที่พรวนดินเด็ก ถุงมือเด็กให้ลูกหยิบจับ ซึ่งนอกจากช่วยให้ลูกยินดีที่จะทำมากขึ้น ลูกยังสนุก และลดความวุ่นวายเวลาลูกมาแย่งอุปกรณ์จากแม่ได้ด้วย

 5. ดูความสนใจของลูก
          การที่จะฝึกให้ลูกคุ้นเคยกับงานบ้าน พ่อแม่ควรเริ่มต้นจากงานที่ลูกสนใจก่อน เพราะความอยากรู้อยากเห็นจะเป็นแรงกระตุ้นให้ลูกเรียนรู้ และทำสิ่งนั้นได้ดี รวมทั้งรู้สึกสนุกได้มากกว่าการไปบังคับให้ลูกทำในสิ่งที่ไม่สนใจ ถ้าลูกอยากจะเข้ามาช่วย หรือขอเข้ามามีส่วนร่วมขณะพ่อแม่กำลังทำงานบ้าน ควรให้ลูกเข้ามาส่วนช่วยทำงานบ้าง ถึงลูกจะถ่วงเวลาให้ทำได้ชักช้า วุ่นวาย หรือไม่ทันใจไปบ้าง ก็ได้อย่าดุว่าลูกเลยนะคะ

 6. หางานง่าย ๆ ให้ลูกทำ
          อย่าเริ่มด้วยงานบ้านยาก ๆ จนลูกรู้สึกเบื่อหน่าย ท้อถอย หางานง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน ทำได้ง่ายตามวัย โดยเน้นเรื่องความพยายามของลูก แม้ว่าผลงานที่ออกมาจะไม่เรียบร้อย แต่คนตัวเล็กอย่างลูกต้องใช้ความพยายามมาก งานที่ควรให้ลูกทำ เช่น เก็บของเล่น ของใช้ เสื้อผ้าเข้าที่, ให้อาหารสุนัข แมว ปลา, ล้างผัก, เก็บของเล่นชิ้นเล็กใส่ตะกร้าหรือกล่อง, หยิบเสื้อผ้าใส่เครื่องซักผ้าที่เปิดฝาด้านหน้า, วางรองเท้าในที่เก็บ, วางช้อนส้อมบนโต๊ะ, วางแผ่นรองจานข้าว

 7.ชมเชยและชื่นชมลูกบ้าง
          หลายคนอาจนึกไปไม่ถึงว่าการที่ลูกได้รับความไว้วางใจให้ทำงาน จะช่วยสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นในใจลูกอย่างได้ผลจนเกินคาดค่ะ นักจิตวิทยายืนยันว่าการให้ลูกมีส่วนร่วมทำงานบ้าน จะทำให้ลูกเกิดความรู้สึกกว่าตัวเองมีคุณค่า เกิดรู้สึกในทางบวกกับตัวเองมากขึ้น คำชมและเสียงตบมือ จึงเป็นกำลังใจที่ลูกต้องการ เมื่อลูกทำงานได้สำเร็จ ทำได้ดีก็อย่าลืมชมเชยในความสามารถของลูก ถึงลูกจะยังทำได้ไม่เนี้ยบเรียบร้อยเท่าพ่อแม่ก็ตาม ให้เวลาลูกอีกสักนิดนะคะ แล้วลูกก็จะค่อยทำได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะ

 8. อย่าให้งานลูกมากเกิน
          การให้ลูกทำงานหลายชิ้นจะทำให้ลูกรู้สึกเบื่อหน่าย เพราะจะทำให้ลูกล้มเลิกการทำงานเหล่านั้นได้ค่ะ เลือกงานบ้านให้ลูกทำทีละอย่างก็พอ หรืออย่างมากสุดก็ไม่ควรให้เกิน 2 ชิ้น ที่สำคัญ ไม่ควรเปลี่ยนใจไปมาให้ลูกทำงานอย่างอื่นแทรกขึ้นมา ทั้งที่ลูกยังทำงานชิ้นเดิมไม่เสร็จ ถ้าจะให้ลูกทำงานบ้านเพิ่มอีก ควรเริ่มให้หลังจากที่ลูกทำงานหลักเสร็จไปแล้ว ลูกจะได้ตั้งใจทำงานให้สำเร็จเป็นชิ้น ๆ ไป ควรให้ลูกทำทีละน้อย ใช้เวลาไม่นานนักลูกจะได้ทำงานได้ง่ายและสะดวกขึ้น แล้วควรอยู่ใกล้ ๆ ลูกด้วยจะได้ช่วยเหลือเมื่อเกิดติดขัดค่ะ

 9. อย่าทำแทนลูกทุกอย่าง
          การไม่ปล่อยให้ลูกทำงานด้วยตัวเองให้สำเร็จลุล่วงไป จะเป็นการทำงานความมั่นใจของลูก ทำให้ลูกไม่กล้าที่จะทำงานต่าง ๆ ด้วยตัวเองตามลำพังคนเดียว เพราะคิดว่าตัวเองไม่มีความสามารถที่จะทำได้ ดังนั้นเมื่อเห็นลูกทำอะไรชักช้าไม่ทันใจ อย่าตัดความรำคาญด้วยการรีบทำแทนลูกทันที หรือช่วยเหลือลูกทุกอย่างเพราะกลัวลูกจะลำบากนะคะ ต้องใจเย็น ๆ ปล่อยให้ลูกทำเองจะดีกว่า เก็บความอยากช่วยงานลูกไว้ก่อน ถ้าลูกจัดการงานนั้นได้เสร็จเรียบร้อย เป็นแม่เองที่อาจอยากจะช่วยทำแทนลูกน้อยลงเรื่อย ๆ ในอนาคตได้ค่ะ

 10. พ่อแม่เป็นแบบอย่างที่ดี
          ถ้าอยากให้ลูกรู้จักพึ่งตัวเองได้ดี แต่พ่อแม่ไม่ค่อยได้ทำงานบ้านให้ลูกเห็น หรือถ้าทำก็จะมีเสียงบ่น หรือทำงานบ้านด้วยท่าทีเคร่งเครียด เหล่านี้ไม่ถือเป็นตัวอย่างที่ดีค่ะ พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีในการทำงานบ้านอย่างเต็มใจและมีความสุข ต้องอดทน และหนักแน่นด้วย เพราะลูกจะไม่สามารถปฏิบัติเพียงครั้งเดียวแล้วทำได้เลย อย่าคาดหวังว่าลูกจะต้องทำได้ดีอย่างที่สอนทุกครั้ง พูดจาดี ๆ กับลูก ลูกจะได้เต็มใจทำ การที่ลูกได้ช่วยเหลืองานบ้าน ก็นับเป็นแบบฝึกหัดที่ดี ทำให้ลูกเป็นคนมีน้ำใจ รู้จักช่วยเหลือคนอื่นด้วยค่ะ
        
        จาก 10 ข้อด้านบน คุณพ่อคุณแม่ลองค่อยๆฝึกดูนะค่ะ ทำพยายาททำทุกข้ออย่างสม่ำเสมอ ลูกจะได้ติดเป็นนิสัยค่ะ
Kiddyloft เป็นกำลังใจให้คุณแม่ทุกท่านที่กำลังฝึกฝนลูกน้อยค่ะ

Kiddyloft ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Mother and Care Magazine

ภาพจาก : http://www.stock2morrow.com

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

ผ้าอ้อม Baby Love แบบเทป ไซส์ S ขนาด 64 ชิ้น

ผ้าอ้อม Baby Love แบบเทป ไซส์ S ขนาด 64 ชิ้น
ผ้าอ้อมเบบี้เลิฟ แบบเทป ไซส์เอส ขนาด 64 ชิ้น สำหรับเด็กน้ำหนัก 5-7 กิโลกรัม

   ผ้าอ้อมเบบี้เลิฟ แบบเทป ออกแบบให้เหมาะกับสรีระของเด็กแรกเกิดโดยเฉพาะ ซึมซับดีเยี่ยม นุ่มสบาย พร้อมขอบเอวเว้าสะดือ ปกป้องสะดือลูกน้อยให้ลูกน้อยแห้งสบายตัวตลอดวัน

คุณสมบัติผลิตภัณฑ์
  1. เมจิกเจล และแผ่นซึมซับ ซุปเปอร์ดรายเลเยอร์
    เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการซึมซับดีเยี่ยม ช่วยให้ผิวลูกน้อยแห้งสบาย
  2. ขอบเอวเว้าสะดือ 
    ขอบเอวออกแบบเป็นพิเศษ เพื่อการปกป้องสะดือที่ยังไม่แห้ง
  3. ผิวสัมผัสนุ่มคล้ายผ้า 
    ให้ลูกน้อยแห้งสบาย และไม่ระคายเคือง
  4. อีซี่เทป 
    ติดปรับขยับได้หลายครั้งตามต้องการ เพื่อความกระชับ สบายในการสวมใส่
  5. ขอบขาตั้งชั้นใน 
    ป้องกันการรั่วซึมบริเวณรอบโคนขา
ที่มา : http://www.kiddyloft.com/babylove-easy-tape-s-32-piece-199.html

เลือกซื้อนมผงได้ที่ : http://www.kiddyloft.com/

Kiddyloft.com จำหน่ายผ้าอ้อมสำเร็จรูป เช่น Baby Love , Certainty , Drypers , Happy Dry , Huggies , Mamy Poko , Merries เป็นต้น

Kiddyloft.com จำหน่ายนมผงสำหรับเด็ก เช่น ALACTA , DGDumex , Enfa , Nestle , Nutramigen , S-26 , Similac , SNOW เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

วิธีเลือกนมให้ลูก เมื่อต้องการหยุดนมแม่

วิธีเลือกนมให้ลูก 

ลองมาดูตัวอย่างกันนะค่ะ จากสถานการณ์ด้านล้างนี้ค่ะ.
"ลูกสาวของดิฉันย่าง 8 เดือนแล้วค่ะ กำลังคิดจะให้แกดื่มนมผสม (ก่อนหน้านี้ทานนมแม่อย่างเดียวค่ะ) แต่ไม่แน่ใจว่าคุณสมบัติสำคัญหลักๆ ของนมกระป๋องที่จะนำมาผสมควรจะมีอะไรบ้าง อยากได้คำแนะนำเรื่องรายละเอียดของบรรดาสารอาหารต่างๆ และวิตามินที่เหมาะสมในการเลือกค่ะ"
ก่อนที่หมอจะตอบว่า  ควรให้ลูกกินนมผงยี่ห้อไหน  คงต้องเรียนถามคุณแม่ก่อนว่า  เพราะอะไรจึงตัดสินใจจะให้ลูกกินนมผง  หลังจากได้ให้นมแม่มา 8 เดือน

ก.  คนรอบข้างบอกว่า นมแม่หมดประโยชน์แล้ว  น้ำหนักตัวลูกน้อย สงสัยว่านมแม่อาจไม่พอกับความต้องการของเด็กที่โตขึ้น
ข.  แม่ทำงานนอกบ้าน  ตอนนี้พยายามปั๊มนมอย่างสุดฤทธิ์  แต่ยังผลิตน้ำนมไม่พอกับความต้องการของลูก  นมที่สต๊อกไว้เริ่มร่อยหรอ
ค. แม่ให้นมและปั๊มนมมา 8 เดือนแล้ว  อยากมีชีวิตเป็นปกติ  ที่ไม่ต้องวุ่นวาย  แบกเครื่องปั๊มนม  ระวังเรื่องอาหารการกิน  ไอ้นั่นก็กินไม่ได้  ไอ้นี่ก็กินไม่ได้  ลูกแพ้นมวัว  แม่อดกินอาหารอร่อยๆ  ฮือๆ

คำตอบสำหรับ ข้อ ก. : นมแม่มีประโยชน์สำหรับเด็กทุกอายุ  หากให้นานจนฟันแท้มา  คือ อายุ 6-7 ปี  แม่และลูกจะได้ประโยชน์เต็มที่  หากให้น้อยกว่านั้น  จะได้ประโยชน์ลดหลั่นกันไป  งานวิจัยพบว่า
  • ยิ่งให้นมแม่นาน  ยิ่งมีประโยชน์ต่อแม่ลูกคู่นั้น  ช่วยลดความเสี่ยงหลายโรค  (ในลูก  อาทิเช่น เบาหวาน  หัวใจ  ไขมันในเลือด  อ้วน   มะเร็งต่อมน้ำเหลือง  ภูมิแพ้  โรค SIDS  ทางเดินปัสสาวะอักเสบ  ลำไส้อักเสบ  ในแม่ อาทิเช่น เบาหวาน  หัวใจ  ไขมันในเลือด  อ้วน  มะเร็งเต้านม  มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก  มะเร็งรังไข่  กระดูกพรุน  กระดูกหัก  ไขข้ออักเสบรูมาตอยด์  โรคซึมเศร้า)
  • เม็ดเลือดขาว  สารภูมิคุ้มกันในนมแม่จะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกป่วยบ่อย  จนกระทั่งร่างกายของลูกเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันได้เต็มที่ เมื่ออายุ 6-7 ปี  จึงทำให้เด็กที่กินนมแม่ป่วยน้อยกว่า
  • ลูกมีระดับสติปัญญามากขึ้นตามระยะเวลาที่ได้กินนมแม่  เนื่องจากได้รับสารบำรุงสมองต่อเนื่อง  จนสมองพัฒนาเต็มที่  เมื่ออายุ 6-7 ปี
  • ระดับสารอาหาร  สารภูมิคุ้มกัน ที่อยู่ในนมแม่  บางอย่างมากขึ้น  บางอย่างเท่าเดิม  ตราบจนถึงวันที่นมแม่หยุดไหล  ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานกี่ปีก็ตาม  โดยที่แม่ไม่ได้เป็นโรคขาดอาหารขั้นรุนแรง
  • เด็กเริ่มจำความได้เมื่ออายุ 4-5 ปี  หากได้กินนมแม่นาน  ลูกจะจำได้เองว่าแม่ทำอะไรเพื่อเขาบ้าง  แม่รักเขามากเพียงใด  โดยที่เราไม่ต้องบอก  เขาจะเป็นเด็กไม่ดื้อ (งานวิจัยพบว่า นมแม่ช่วยลดปัญหาเด็กดื้อ  เด็กมีปัญหา)
    งานวิจัยเหล่านี้  เป็นการศึกษาเปรียบเทียบเด็กสองกลุ่ม คือ เด็กที่กินนมแม่  เทียบกับเด็กที่กินนมผงค่ะ  ในเมื่อข้อเท็จจริงพบว่า  นมแม่ช่วยลดความเสี่ยงตามข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น   เราอาจพูดอีกอย่างได้ว่า  การกินนมผงเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคต่างๆเหล่านี้นั่นเอง   ดังนั้น ผู้ผลิตนมผง  จึงควรเขียนเตือนไว้ข้างกระป๋องนมตัวโตๆว่า (เหมือนกับการเขียนเตือนข้างซองบุหรี่  สุรา)
“ไม่เหมาะสำหรับเลี้ยงทารก  เนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรค  อ้วน  เบาหวาน  โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน  โรคไขมันในเลือดสูง  โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ฯลฯ  ในลูก  และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านม  โรคกระดูกพรุน  ฯลฯ ในแม่   อาจทำให้ลูกสติปัญญาด้อยกว่าที่ควรจะเป็น  ระดับไอคิวลดลง 2-11 จุด  อาจทำให้ลูกป่วยบ่อย เนื่องจากไม่มีภูมิคุ้มกัน   อาจทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกถูกกระทบกระเทือน    ดังนั้น  จึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง  ควรใช้เมื่อจำเป็นจริงๆ   คิดให้ดีๆก่อนใช้  และต้องปรึกษาแพทย์  เพื่อพิจารณาหาวิธีเพิ่มน้ำนมคุณแม่ให้เต็มที่ก่อนที่จะตัดสินใจใช้นมผง”
    แต่ความเป็นจริงคือ  ในโลกของการค้าเสรี  และคนที่มีความรู้เรื่องนมแม่ยังมีอยู่น้อย  จึงเป็นโอกาสของผู้ผลิตนมผง  ในการให้ข้อมูลที่บิดเบือนแก่ผู้บริโภค  การโฆษณาในทีวี  นิตยสาร  คอลล์เซ็นเตอร์โทรหาคุณแม่อย่างไม่หยุดหย่อน  บอกให้เลิกนมแม่ได้แล้ว  ไม่มีประโยชน์แล้ว  และแนะนำให้กินนมยี่ห้อนี้  มีสารอาหารระดับพรีเมี่ยม  เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะตัว  บลาๆๆๆ    การจัดอีเว้นท์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของเด็ก  ความฉลาดของเด็ก  เสริมศักยภาพนู่นนี่  ทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อว่า  นมผงราคาแพงเหล่านี้  มีคุณภาพดีเทียบเท่ากับนมแม่  หรือ  ดีมากกว่านมแม่เสียอีก   ในฐานะที่เป็นแม่และเป็นหมอ  ได้แต่แอบหวังว่า  ในอนาคตจะมีผู้เห็นความสำคัญของสุขภาพเด็กอย่างแท้จริง  จะได้มีการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างจริงจังและควบคุมการทำการตลาดที่บิดเบือนอย่างรุนแรงของบริษัทนมผงเหล่านี้  ไม่ให้มากเกินไป
    ส่วนเรื่องน้ำหนักตัวขึ้นน้อย  ก่อนที่จะโทษว่าเป็นเพราะนมแม่ไม่พอ  ควรหาสาเหตุที่แท้จริง เช่น พ่อแม่อาจเป็นคนตัวเล็ก  ลูกอาจเป็นเด็กที่กินไม่เก่ง   ควรได้รับการประเมินว่านมแม่มีปริมาณน้อยจริงหรือไม่จากคลินิคนมแม่  หรือผู้เชี่ยวชาญ   ส่วนเรื่องคุณภาพของนมแม่  ไม่ต้องหวั่นไหว  คุณภาพดีตลอดอายุการใช้งาน  หากคุณแม่ไม่ได้เป็นโรคขาดสารอาหารขั้นรุนแรง

คำตอบสำหรับ ข้อ ข. : ถ้านมแม่เริ่มไม่พอ  วิธีการเพิ่มนมแม่ คือ การปั๊มให้บ่อยขึ้น  กินอาหารกระตุ้นน้ำนม  หาความรู้เพิ่มเติมจากเว็บนมแม่ (www.thaibreastfeeding.org , www.breastfeedingthai.com) หรือ ปรึกษาคลินิกนมแม่

คำตอบสำหรับ ข้อ ค. : การให้นมแม่  สามารถใช้ชีวิตได้เกือบปกติค่ะ  เวลาแม่ป่วย หรือได้รับยาบางอย่าง  ส่วนใหญ่ให้นมได้  (หาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บนมแม่   แต่ผู้ไม่ทราบเรื่องนมแม่  มักจะห้ามนู่นนี่หลายอย่าง  จนทำให้คุณแม่ใช้ชีวิตลำบาก)   ยกเว้นแต่กรณีที่ลูกมีปัญหาแพ้อาหารหลายอย่าง  ที่ทำให้คุณแม่ต้องงดอาหารเหล่านั้นด้วย  แต่บางทีวิกฤตก็เป็นโอกาสค่ะ  เช่น  กรณีที่ลูกแพ้นมวัว  คุณแม่ต้องหยุดกินนมวัวและผลิตภัณฑ์นมวัว  ปรากฏว่า  คุณแม่มีสุขภาพที่ดีขึ้นด้วย  เพราะที่จริงแล้ว  คุณแม่ก็เป็นโรคภูมิแพ้  ซึ่งก็แพ้นมวัวด้วยเหมือนกัน  แต่ที่ผ่านมาไม่ทราบ  ทำให้คุณแม่เป็นผื่นแพ้ หรือ เป็นหวัดบ่อย  หลังจากเลิกกินนมวัว  อาการผิดปกติของคุณแม่ก็ดีขึ้นด้วย  นอกจากนี้ยังทำให้คุณแม่ควบคุมน้ำหนักได้ด้วย  เพราะอาหารที่มีนมวัวเป็นส่วนประกอบ  ประเภทอร่อยๆทั้งหลาย เช่น ไอศกรีม  เค้ก  ชีส  ล้วนแต่เป็นอาหารเพิ่มน้ำหนัก หรือ ทำให้เป็นโรคอ้วนได้ง่าย  วิกฤตเป็นโอกาสอีกอย่าง คือ ทำให้คุณแม่สนใจหาความรู้เรื่องอาหารที่มีคุณภาพมากขึ้น  สนใจเรื่องความอร่อยถูกปากลิ้นน้อยลง  เพราะห่วงใยสุขภาพของลูก  ทำให้ดูแลเรื่องอาหารของตัวเองดีขึ้น  ไม่กินซี้ซั้วตามใจชอบเหมือนเดิม
    ส่วนเรื่องความยุ่งยากลำบากในการใช้ชีวิต เช่น การปั๊มนม  การถูกปลุกกลางดึกเวลาลูกกินนม (เด็กกินนมผง  ก็มีตื่นกลางดึกเหมือนกัน  แต่อาจไม่บ่อยเท่า)   เวลาท้อเวลาเหนื่อย   ให้คิดเสียว่า  ดีกว่าเหนื่อยเวลาลูกป่วยค่ะ  เพราะเวลาลูกป่วย  คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า  อยากจะป่วยแทนลูก  (เพราะเห็นลูกทรมานเวลาไข้ขึ้น  ต้องโดนเจาะเลือด  ให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด  พ่นยาเคาะปอดดูดเสมหะ)   คุณแม่ทนเหนื่อยปั๊มนมให้นมลูกต่อไปอีกนานหน่อย  ส่วนคุณพ่อก็คอยให้กำลังใจคุณแม่  สู้ๆค่ะ  หมอเป็นกำลังใจให้

    ทีนี้เข้าเรื่องกันเสียที  เรื่องการเลือกชนิดของนมผงนะคะ

การเลือกนมผง
  • ถ้าลูกแพ้นมวัว  หมอแนะนำให้กินนมถั่วเหลือง  แต่บางคนแพ้นมถั่วเหลือง  ต้องใช้นมสูตรพิเศษ คือ นูตรามิเยน หรือ นีโอเคต (หาซื้อยาก  กินยาก  ราคาแพง)
  • ถ้าลูกไม่แพ้นมวัว  แต่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว  แนะนำให้กินนมวัวสูตรป้องกันภูมิแพ้  หรือ นมถั่วเหลือง หรือ นมสูตรพิเศษ  แต่ครอบครัวของหมอเป็นภูมิแพ้  ลูกและหลานเคยลองกินนมวัวสูตรป้องกันภูมิแพ้  พบว่าไม่เวิร์ค  ยังแพ้อยู่ดี  คนหนึ่งคันตาคัดจมูก  คนหนึ่งเป็นหอบหืด  คนหนึ่งเลือดกำเดาไหล  ต้องเปลี่ยนเป็นนมถั่วเหลืองจึงดีขึ้น
  • ถ้าไม่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว  และอยากให้ลูกกินนมวัวสูตรปกติ  ไม่ใช่สูตรป้องกันภูมิแพ้  เพราะเคยชิมดูพบว่าไม่อร่อย  กลัวลูกไม่ยอมกิน  กลัวลูกไม่อ้วน  หมอขอแนะนำว่า  ลองกินดูได้ค่ะ  แล้วคอยสังเกตอาการผิดปกติว่ามีหรือไม่ เช่น  นอนกรน  ขยี้ตา  ขยี้จมูก  หายใจเสียงดังครืดคราด  ผื่นคันตามหน้า แขนขา ลำตัว  ถ่ายเป็นมูกเลือด  ท้องผูก  อาเจียนแหวะนมบ่อย  ร้องโคลิก   ถ้ามีอาการเหล่านี้  อย่าลืมนึกถึงภาวะแพ้นมวัว  ให้ลองเปลี่ยนเป็นนมถั่วเหลือง หรือ นมสูตรพิเศษ  แล้วดีขึ้นหรือไม่  บางคนไม่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว  แต่เพราะคุณแม่กินนมวัวเพื่อบำรุงครรภ์ขณะตั้งครรภ์  จึงไปกระตุ้นให้ทารกมีอาการแพ้ได้
  • ถ้ากินนมผงวัวสูตรปกติแล้ว  ไม่มีอาการผิดปกติดังกล่าว  จำเป็นหรือไม่  ต้องกินนมผงราคาแพง  ที่โฆษณาว่าเติมดีเอชเอ  โคลีน  ทอรีน  พรีไบโอติก  คำตอบ คือ ไม่จำเป็นค่ะ  เพราะยังไม่มีผลงานวิจัยที่เชื่อถือได้ว่า  การเติมสารเหล่านี้ลงไปในนมผงจะเป็นประโยชน์มากขึ้นกว่านมผงที่ไม่ใส่  ให้เลือกนมผงที่มี อย. และระบุว่าใช้เลี้ยงทารกได้    ไม่จำเป็นต้องดูตัวเลขของวิตะมิน  เกลือแร่  สารต่างๆข้างกระป๋องเพื่อเปรียบเทียบว่า  ยี่ห้อไหนมากที่สุด  มากที่สุด  ไม่ได้แปลว่า  ดีที่สุด หรือ แพงที่สุด คือ ดีที่สุด (เพราะราคาที่แพง เนื่องจาก เสียค่าประชาสัมพันธ์  ค่าการตลาด  โฆษณา)
  • หลังอายุ 1 ขวบ  อาหาร 5 หมู่เป็นอาหารหลัก  นมเป็นอาหารเสริมเพื่อรับแคลเซียม ให้กินนมกล่องได้เลย (หมอสนับสนุนนมถั่วเหลืองมากกว่านมวัว)  ไม่ต้องกินนมผงราคาแพง  เติมสารนู่นนี่ เพราะเป็นแค่จุดขายของผลิตภัณฑ์  ไม่ได้มีประโยชน์มากกว่าจริง   ไม่ต้องกินนมกล่องที่ทำมาจากนมผงเอามาละลายแล้วบรรจุกล่อง    ถ้าอยากได้ดีเอชเอ  ให้กินจากปลา  อโวคาโด  สาหร่าย  ถ้าอยากได้ธาตุเหล็กให้กินจากผักใบเขียว  ถ้าอยากได้พรีไบโอติกให้กินผักผลไม้เยอะๆ (ถ้าใครได้กินนมแม่มาก่อน  จะได้พรีไบโอติกสะสมมาเพียบ)
  • ถ้าลูกเป็นเด็กที่ไม่ยอมกินนมอื่น  นอกจากนมแม่  หากแม่ต้องหย่านมแม่  จะทำอย่างไรดี  คำตอบ คือ ไม่ต้องกินนมอะไรก็ได้ค่ะ  แค่กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และกินอาหารที่มีแคลเซียมสูงในปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน   ไม่ต้องกลัวลูกไม่สูงค่ะ  เพราะ  ช้าง  ยีราฟ  เมื่อเลิกกินนมแม่  ก็กินอาหารตามธรรมชาติ (real  food)  ไม่ได้กินนมวัว  นมถั่ว   ก็ไม่เห็นว่า จะตัวเตี้ยแต่อย่างใด
ที่มา : http://www.thaibreastfeeding.org
 
เลือกซื้อนมผงได้ที่ : http://www.kiddyloft.com/

Kiddyloft.com มีนมผงทุกยี่ห้อให้เลือก เช่น ALACTA , DGDumex , Enfa , Nestle , Nutramigen
, S-26 , Similac , SNOW เป็นต้น